วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

         
                
                             

           ครูต้อง "สอนน้อย เรียนมาก" เป็นอุดมการณ์ด้านการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ 
คือ การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในการเรียนต้องจัดกิจกรรม และ หลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ให้เด็กได้เรียนในสิ่งที่เขาอยากรู้ 






       ครูมีหน้าที่ในการเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากภายในใจและสมองของตนเอง เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) หรือการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นหลัก                   
            ผลสัมฤทธิ์ของ PBL ต่อการเรียนรู้ของเด็ก สรุปได้ดังนี้
ตัวแปรที่ให้ผลต่อการเรียนรู้สูงสุดคือ การได้ลงมือปฏิบัติ และได้
ร่วมทีมเรียนรู้ เป็นตัวแปรที่มีผลมากกว่าพื้นฐานของนักเรียน และสูงกว่า
ผลสัมฤทธิ์ในอดีต 
นักเรียนจะเรียนได้ดีหากได้รับการสอนเรื่อง how to learn และwhat to learn

                                         


ทักษะการเรียนรู้ของคนในศตวรรษที่ 21 คือ 3R x 7C

3R ได้แก่
-Reading
-Writing
-Arithmetics

7C ได้แก่
-Critical thinking & problem solving
-Creativity & innovation
-Cross-cultural understanding
-Collaboration,teamwork & media literacy
-Computing & ICT literacy
-Career & learning skills

ขั้นตอนการเรียนรู้จากผลการวิจัยในยุคปัจจุบัน  คือ

จำได้ (remember)
เข้าใจ (understand)
ประยุกต์ใช้ (apply)
วิเคราะห์ (analyze)
ประเมิน(evaluate)
สร้างสรรค์ (create)

พลังสมอง 5 ด้านครูสอนไม่ได้ แต่ศิษย์เรียนได้และเรียนได้ดี หากครูใช้วิธีการที่ดีในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ ได้แก่

 สมองด้านวิชาและวินัย (disciplined mind) การเรียนรู้แก่นวิชา ไม่ใช่จดจำสาระแบบผิวเผิน 
แต่รู้แก่นวิชาจนสามารถเอาไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นได้
สมองด้านสังเคราะห์ (synthesizing mind) ความสามารถในการรวบรวมสารสนเทศและความรู้ต่าง ๆ 
ที่เกี่ยวข้อง นำมากลั่นกรองคัดเลือกเอามาเฉพาะส่วนที่สำคัญ 
สมองด้านสร้างสรรค์ (creating mind) สมองที่สร้างสรรค์คือ สมองที่ไม่เชื่อว่าวิธีการหรือสภาพซึ่งถือว่าดีที่สุดที่มีอยู่นั้น ถือเป็นที่สุดแล้ว
สมองด้านเคารพให้เกียรติ (respectful mind) ต้องไม่มีอคติ ทั้งด้านลบและด้านบวกต่อคนต่าง
เชื้อชาติ ต่างศาสนา ต่างความเชื่อ
สมองด้านจริยธรรม (ethical mind) เรียนรู้ซึมซับได้โดยการชวนกันสมมติและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันว่าตัวเองเป็นอย่างไรในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
                                                      

วิธีออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์มีทักษะนี้ ใช้หลักการว่า ต้องมีการเรียนรู้แบบที่เด็กร่วมกันสร้างความรู้เองคือ เรียนรู้โดยการสร้างความรู้ และเรียนรู้เป็นทีม การฝึกตั้งคำถาม การตั้งคำถามที่ถูกต้องสำคัญกว่าการหาคำตอบ


ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

        นวัตกรรม โลกกำลังเปลี่ยนยุค จากยุคความรู้สู่ยุคนวัตกรรม การฝึกพลัง
สร้างสรรค์และนวัตกรรมจึงสำคัญยิ่ง
                                           

1. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และการแก้ปัญหา
เป้าหมาย : นักเรียนสามารถใช้เหตุผล
เป้าหมาย : นักเรียนสามารถใช้การคิดกระบวนระบบ (systems thinking)
เป้าหมาย : นักเรียนสามารถใช้วิจารณญาณและตัดสินใจ
การเรียนทักษะเหล่านี้ทำโดย PBL (Project-Based Learning) และ
ต้องเรียนเป็นทีม
2. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและความร่วมมือ
เป้าหมาย : ทักษะในการสื่อสารอย่างชัดเจน
3. การออกแบบการเรียนรู้ทักษะด้านความสร้างสรรค์
เป้าหมาย : ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์
เป้าหมาย : ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
เป้าหมาย : ประยุกต์สู่นวัตกรรม



โลกยิ่งเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนมากขึ้น คนที่อ่อนแอในทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรมจะเป็นคนที่ตามโลกไม่ทัน


ทักษะด้านสารสนเทศ (Information Literacy)

เป้าหมาย : เข้าถึงและประเมินสารสนเทศ
เป้าหมาย : ใช้และจัดการสารสนเทศ


ทักษะด้านสื่อ (Media Literacy Skills) 

เป้าหมาย : วิเคราะห์สื่อได้                                           
เป้าหมาย : สร้างผลิตภัณฑ์สื่อได้

ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Literacy)

                                                                                
เป้าหมาย : สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิผล


ทักษะชีวิตและอาชีพ

ความยืดหยุ่นและปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity) 
และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้ (accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)


            เครื่องมือที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้ และการสอนในศตวรรษที่ 21  คือ คำถามกับปัญหา  
การเรียนรู้แบบใช้การตั้งคำถาม เป็นหลักเรียกว่า Inquiry-Based Learning หรือ IBL 

    วิชาที่สร้างความสนุกและความรู้สู่คำตอบ คือ วิชา STEM คือ Science, Technology, Engineering และ Mathematics 

                       

     บรรยากาศของการตั้งคำถามและตั้งปัญหา จะทำให้ชีวิตนักเรียนเป็นชีวิตที่สนุกสนานตื่นเต้นเร้าใจ กระตุ้นจินตนาการ ยั่วยุให้ ค้นคว้า ค้นหา สร้าง และเรียนรู้ คือ ทำให้โรงเรียนไม่เป็นสถานที่น่าเบื่อ
หรือสร้างความทุกข์ให้แก่ศิษย์

การเรียนรู้อย่างมีพลัง

เครื่องมือของการเรียนรู้อย่างมีพลังคือ จักรยานแห่งการเรียนรู้
ซึ่งมีวงล้อประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 
Define  คือ ขั้นตอนการทำให้สมาชิกของทีมงาน ร่วมทั้งครูด้วย
มีความชัดเจนร่วมกันว่า คำถาม ปัญหา ประเด็น,
Plan คือ การวางแผนการทำงานในโครงการ นักเรียนที่เป็นทีมงานก็ต้องวางแผนงานของตน แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ การประชุมพบปะระหว่างทีมงาน
Do คือ การลงมือทำ มักจะพบปัญหาที่ไม่คาดคิดเสมอ
Review คือ ทีมนักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้ ขั้นตอนนี้เป็นการเรียนรู้แบบทบทวนไตร่ตรองหรือ เรียกว่า AAR (After Action Review)

                                                         

             วงล้อมี 2 วง วงหนึ่งเป็นของนักเรียน อีกวงหนึ่งเป็นของครู หลักสำคัญ คือ วงล้อจักรยานแห่งการเรียนรู้ของนักเรียนกับครูต้องไปด้วยกันอย่าง สอดคล้องเชื่อมโยงกัน  จากห้องเรียนเข้ากับสถานการณ์ในชีวิตจริง และเมื่อเขาได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมระยะยาวที่ให้โอกาสได้จดจ่อกับเรื่องนั้น และได้ร่วมมือกับทีมงาน

     วิธีจัดการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีพลัง

- การเรียนรู้กลุ่มย่อยแบบร่วมมือกัน(Collaborative Small- Group Learning)
- การเรียนรู้แบบใช้โครงการ (Project Learning Methods)
   
                                 
     การเรียนแบบโครงการที่ได้ผลสูงมีลักษณะสำคัญ ประการ
1. ผลของโครงการตอบสนองหรือผูกพันอยู่กับหลักสูตรและเป้าหมายการเรียนรู้
2. คำถามหลักและปัญหาหลักนำไปสู่การเรียนรู้หลักการสำคัญของเรื่องนั้น หรือของสาระวิชา
3. การค้นคว้าของนักเรียนเกี่ยวข้องกับความสงสัยใฝ่รู้ (inquiry)และการสร้างความรู้
4. นักเรียนทำหน้าที่รับผิดชอบการออกแบบ และการจัดการการเรียนรู้ของตนเป็นส่วนใหญ่
5. โครงการอยู่บนฐานของคำถามและปัญหาในชีวิตจริง เป็นของจริง นักเรียนไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องหลอก


ครูที่เก่งคือ ครูที่ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง และครูที่เก่งมีคุณลักษณะสำคัญ 2 ด้าน คือ

1. รักเอาใจใส่เด็ก เด็กสัมผัสจิตใจเช่นนั้นได้และสบายใจที่จะเข้าหา ซึ่งเป็นมิติด้านมนุษย์สัมผัสมนุษย์
2.สามารถออกแบบการเรียนรู้ ให้น่าสนใจและเข้าใจง่ายสำหรับศิษย์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกและเกิดความจำระยะยาว

วิธีทำให้ศิษย์เรียนรู้ได้อย่างดี

คิดออกแบบขั้นตอนการเรียนรู้ของศิษย์ (ไม่ใช่ขั้นตอนการสอน
ของครูไว้อย่างดี ให้นักเรียนคิดในแนวทางที่ต้องการให้เรียนรู้
ชวนนักเรียนคิดถึงคุณค่าหรือความหมายของบทเรียนนั้น 
ใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง สะเทือนอารมณ์ด้วย 4C ได้แก่  ความบังเอิญ(casuality) ความขัแย้ง (conflict) ความ                                                                                 สลับซับซ้อน(complication) และการมี                                                                                                       บุคลิก (character) น่าสนใจ จำง่าย สั้นกระชับ

ความจำเป็นผลของการคิด ความจำเกิดจาก ?? 

การกระทบอารมณ์อย่างรุนแรงทั้งด้านสุขและด้านทุกข์ ช่วยให้เกิดการจำ แต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าต้องมีการกระทบอารมณ์จึงจะจำได้
> การทำหรือประสบการณ์ซ้ำ จะช่วยให้จำได้ดีขึ้น แต่ไม่เสมอไป ความต้องการที่จะจำ แต่บ่อยครั้งที่ลืม ทั้ง ที่ต้องการจำ
การคิดถึงความหมายที่ถูกต้องต่อบริบทการเรียนรู้นั้น วิธีการหนึ่งคือ ใช้โครงสร้างของเรื่อง (story structure) ในการออกแบบการเรียนรู้ และการเดินเรื่องให้นักเรียนคิดตรงตามความหมายที่
ต้องการให้เรียนรู้ 


วิธีทำให้ตนเองคิดแบบผู้เชี่ยวชาญด้วย กลไก ได้แก่

1. เพิ่มต้นทุนความรู้ (background knowledge หรือ longterm memory) และจัดระบบไว้อย่างดี ให้พร้อมใช้ (เรียกว่า functional knowledge) ดึงเอาไปใช้ตรงตามสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
2. ฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถในการคิดให้มากและซับซ้อน
3. ฝึกคิดแบบลึก (deep structure) หรือแบบ functional หรือคิดตีความหาความหมาย (meaning) ไม่ใช่คิดแบบตื้น (surface structure)ตามที่ตาเห็น
4. คุยกับตัวเองว่า กำลังขบปัญหาอะไรอยู่ ในลักษณะของการมองแบบนามธรรม หรือแบบสรุปรวบยอด (generalization) และตั้สมมติฐานเกี่ยวกับการแก้ปัญหานั้นไปในตัว

นักเรียนมีความแตกต่าง 3 แนว ได้แก่

1.ความสามารถทั่วไปในการเรียนรู้ อาจเรียกว่าเด็กฉลาด เด็กหัวไว เด็กหัวช้า
2. รูปแบบการเรียน ตามทฤษฎีมีผู้เรียนแบบเน้นจักษุประสาท
แบบเน้นโสตประสาท และแบบเน้นการเคลื่อนไหว (Visual, Auditory, and Kinesthetic Learners Theory)
3.ความฉลาด 8 ด้าน ตามทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences)

       "ครูต้องทำให้ศิษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหัวเร็วหรือหัวช้า เชื่อว่าความฉลาดสร้างได้ด้วยความเพียร เด็กที่หัวช้าก็เรียนรู้ได้เท่ากับเด็กหัวไว"

                                                  

PLC คืออะไร

        PLC คือ กระบวนการต่อเนื่องที่ครูและนักการศึกษาทำงานร่วมกันในวงจรของการร่วมกันตั้งคำถาม และการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อบรรลุผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน โดยมีความเชื่อว่า หัวใจของการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้ดีขึ้น อยู่ที่การเรียนรู้ที่ฝังอยู่ในการทำงานของครูและนักการศึกษา
มี แง่มุมที่สำคัญ ต่อไปนี้
เน้นที่การเรียนรู้
- มีวัฒนธรรมร่วมมือกันเพื่อการเรียนรู้ของทุกคน ทุกฝ่าย
ร่วมกันตั้งคำถามต่อวิธีการที่ดี และตั้งคำถามต่อสภาพปัจจุบัน
เน้นการลงมือทำ
มุ่งพัฒนาต่อเนื่อง
เน้นที่ผล (หมายถึง ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ของศิษย์)


          PLC คือ เครื่องมือให้ครูทุกคนได้มีโอกาสเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยมีเป้าหมายหลักที่ผลการเรียนรู้ของนักเรียน แต่ที่จริง แล้วยังมีผลลัพธ์ที่การเปลี่ยนแปลงโรงเรียนโดยสิ้นเชิง โรงเรียนจะกลายเป็นองค์กรเรียนรู้ ผู้คนจะไม่หวงความรู้ จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันอย่างเข้มข้น


แรงต้านต่อการเรียนการสอนแบบใหม่

1. นโยบายการศึกษายังเป็นนโยบายสำหรับยุคอุตสาหกรรม เน้น
mass education และเน้นประสิทธิภาพซึ่งเคยใช้ได้ผล แต่บัดนี้ตกยุคเสียแล้ว
2. ระบบตรวจสอบและระบบวัดผลแบบทดสอบตามมาตรฐาน
(standardized testing systems) ที่เน้นวัดความสามารถด้านทักษะพื้นฐาน
เช่นการอ่าน การคิดเลข แต่ไม่วัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
3. แรงเฉื่อยหรือความคุ้นเคยกับระบบการสอนแบบครูบอกเนื้อหา
วิชาให้นักเรียนจดจำ ที่ทำต่อ กันมาหลายสิบปีหรือเป็นร้อยปี แม้จะมีครู
จำนวนหนึ่งเปลี่ยนไปแล้ว คือเปลี่ยนไปทำหน้าที่ช่วยเหลือเด็กให้สร้างและ
ประยุกต์ใช้ความรู้ผ่านการค้นพบ การสำรวจ และการเรียนจากโครงงาน
4. ผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมพิมพ์จำหน่ายตำราเรียน
5. ความหวั่นกลัวว่าความรู้เชิงทฤษฎี จะถูกละเลย หันไปให้ความสำคัญ
ต่อทักษะมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ความรู้ 2 แนวนี้ต้องเกื้อกูล
(synergy) ซึ่งกันและกัน
6. อิทธิพลของพ่อแม่ที่ยึดติดกับการเรียนแบบดั้งเดิมที่ตนเคยเรียนมา
และทำให้ตนประสบความสำเร็จในชีวิตการงาน จึงอยากให้ลูกหลานได้เรียน
ตามแบบที่ตนเคยเรียน สอบข้อสอบที่ตนเคยสอบ และรู้สึกไม่สบายใจที่
โรงเรียนทดลองวิธีการเรียนรู้ใหม่ ที่ตนไม่คุ้นเคย และอาจทำให้ลูกหลาน
ของตนไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
7. พลังราชการรวมศูนย์ และจัดการแบบควบคุมและสั่งการ (command &
control) ทำให้วงการศึกษาขาดอิสรภาพ
                                          

สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

1. ยกเลิกระบบการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งของครู (คศ.) ที่ใช้ใน
ปัจจุบัน คือให้ ทำผลงานในกระดาษ และมีการติววิธีทำผลงาน เปลี่ยน
มาเป็นเลื่อนตำแหน่งเมื่อผลสัมฤทธิ์ของลูกศิษย์ได้ผลดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตามการทดสอบระดับชาติ 3 ปีติดต่อกัน จนได้ผลในระดับผ่านเกินร้อยละ
๙๐ ของจำนวนเด็กนักเรียนทั้งหมด ซึ่งหมายความว่า ต้องมีการทดสอบ
ระดับชาติในทุกชั้น
2. มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์เพิ่มผลสัมฤทธิ์ของศิษย์ทั้งโรงเรียน
หรือทั้งเขตการศึกษา แล้วคณะครูและทุกฝ่ายช่วยกันดำเนินการ เน้นที่การ
มี PLC ระดับโรงเรียน ระดับเขตการศึกษา และระดับประเทศ เมื่อนักเรียน
ทั้งโรงเรียน หรือทั้งเขตการศึกษาสอบ National Education Test (NET)
ผ่านเกินร้อยละ 90 ก็ได้รับรางวัลทั่วทั้งโรงเรียน หรือทั่วทั้งเขตการศึกษา
(เช่นได้เงินรางวัลเท่ากับ 2 เท่าของเงินเดือน) และหากรักษาระดับนี้ได้
ก็ได้รับรางวัลทุกปี
3. ปราบปรามคอรัปชั่นเรียกเงินในการบรรจุหรือโยกย้ายครู นี่เป็น
ความชั่ว ที่บ่อนทำลายระบบการศึกษาไทย ต้องมีมาตรการตรวจจับและ
ลงโทษรุนแรง ไล่ออกและฟ้องเรียกค่าเสียหาย เพราะเป็นพฤติกรรมที่ก่อ
ความเสียหายต่อบ้านเมืองรุนแรงมาก อาจต้องออกกฎหมายให้ลงโทษ
รุนแรงขึ้น
4. แบ่งเงินลงทุนเพิ่มด้านการศึกษา ครึ่งหนึ่งไปไว้สนับสนุนการเรียนรู้
ของครูประจำการในลักษณะการเรียนรู้ในการทำหน้าที่ครู ที่เรียกว่า PLC
(Professional Learning Community) ซึ่งเน้นที่การเรียนรู้ (learning) ของ
ครู ไม่ใช่เน้นที่ การฝึกอบรม (training) และเน้นการเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อ
ให้ครูจับกลุ่มช่วยเหลือกัน โรงเรียนดี จำนวนหนึ่งในประเทศไทยทำ
กิจกรรมนี้อยู่แล้ว เช่น โรงเรียนรุ่งอรุณ เพลินพัฒนา ลำปลายมาศพัฒนา
5. จัดงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประจำปี ด้านการยกระดับผลสัมฤทธิ์
ของนักเรียน เชิญครูที่มีผลงาน โรงเรียนที่มีผลงาน และเขตการศึกษาที่มี
ผลงาน มาเล่าแรงบันดาลใจ วิธีการ และวิธีเอาชนะอุปสรรค รวมถึงให้
รางวัลหรือการยกย่อง งานนี้ควรจัดในทุกจังหวัด หรืออย่างน้อยทุกภาค
หรือกลุ่มจังหวัด
6. ยกระดับข้อสอบ National Education Test (NET) ให้ทดสอบ
การคิดที่ซับซ้อน (complex thinking) และทักษะที่ซับซ้อน (complex
skills) ตามแนวทางทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
7. ส่งเสริมการเรียนแบบ Project-Based Learning (PBL) โดยส่งเสริม
ให้มี PLC ของครูที่เน้นจัดการเรียนรู้แบบ PBL ให้รางวัลและยกย่องครูที่
จัด PBL ได้เก่ง เพราะ PBL เป็นเครื่องมือให้นักเรียนเรียนรู้ในมิติที่ลึกและ
ซับซ้อน ตามแนวทักษะแห่งศตวรรษที่ 21





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น